ไม่ต้องพยายามแสวงหาสัจธรรม
ขอเพียงแต่ไม่ยึดมั่นกับความเชื่อ
แล้วท่านจะไม่ต้องเวียนว่ายอยู่กับสิ่งที่เป็นนามรูป
จงปล่อยวางให้สิ่งต่างๆเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่
ยอมรับในธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง
แล้วท่านจะเข้าสู่มรรคาแห่งการรู้แจ้ง
– ฉาน ฉ่าง
Do not try to seek the Truth.
Just don’t cling to opinion.
And you won’t linger in dualism.
Let go, leave things as they are.
Obey the true nature of things.
And you’re in harmony
with the Way.
– T’san T’sang
คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต
เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ
เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน
วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
ตามคติของนิกายเซน ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釋迦牟尼佛) ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง "จิตสู่จิต" และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้
พระมหากัสสปะ , พระอานนท์ , พระศาณวาสะ , พระอุปคุต , พระธฤตก , พระมิจกะ , พระวสุมิตร , พระพุทธานันทิ , พระพุทธมิตร , พระปารศวะ , พระปุณยยศัส , พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์), พระกปิมละ, พระนาคารชุนะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์), พระอารยเทวะ , พระราหุลตะ , พระสังฆนันทิ , พระสังฆยศัส , พระกุมารตะ , พระศยต , พระวสุพันธุ , พระมโนรหิตะ , พระหเกฺลนยศัส , พระสิงหโพธิ , พระวสิอสิต , พระปุณยมิตร , พระปรัชญาตาระ , พระโพธิธรรม
เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ
เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน
วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
ตามคติของนิกายเซน ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釋迦牟尼佛) ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง "จิตสู่จิต" และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้
พระมหากัสสปะ , พระอานนท์ , พระศาณวาสะ , พระอุปคุต , พระธฤตก , พระมิจกะ , พระวสุมิตร , พระพุทธานันทิ , พระพุทธมิตร , พระปารศวะ , พระปุณยยศัส , พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์), พระกปิมละ, พระนาคารชุนะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์), พระอารยเทวะ , พระราหุลตะ , พระสังฆนันทิ , พระสังฆยศัส , พระกุมารตะ , พระศยต , พระวสุพันธุ , พระมโนรหิตะ , พระหเกฺลนยศัส , พระสิงหโพธิ , พระวสิอสิต , พระปุณยมิตร , พระปรัชญาตาระ , พระโพธิธรรม