เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งความเจ็บป่วยทำให้มีผู้ป่วยเกิดการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ อาการที่สังเกตเห็นเป็นส่วนใหญ่ เช่น หูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด
ด้วยอาการผิดปกติทางจิตนี้ มักทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ
ความเสี่ยงของการเกิดโรคจิตเภท (Schizophrenia) มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยอัตราคนป่วยต่อประชากรปกติคือ 0.3-0.7% (1,000 คน จะมีคนป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) จำนวน 3- 7 คน)
อาการที่เกิดจากความผิดปกติของความคิด
– อาการหลงผิด เชื่อผิดๆในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ไม่มีใครที่จะสามารถอธิบายด้วยเหตุผลให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิดได้
– ความคิดไม่ปะติดปะต่อ
– ถามอย่างตอบอย่าง
– พูดแล้วเราฟังไม่รู้เรื่อง
– พูดศัพท์แปลกๆ
อาการที่เกิดจากความผิดปกติของการรับรู้
– อาการประสาทหลอน
– ภาพหลอน (เห็นภาพที่คนอื่นไม่เห็น)
– หูแว่ว (ได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน) เสียงหลอน
– การแสดงอารมณ์ผิดปกติ ยิ้ม หัวเราะโดยไม่มีเหตุผล หรือเฉยเมยไม่แสดงอารมณ์
– พฤติกรรมเปลี่ยน วุ่นวาย พูดคนเดียว ยกมือไหว้คนไปทั่ว ทำท่าแปลกๆ ที่ไม่มีใครเข้าใจความหมาย ไม่สนใจดูแลตัวเอง เฉยชาในการทำงาน
สาเหตุของโรคจิตเภท
– ในปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของโรคจิตเภท ดูเหมือนว่ากรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคนี้พอๆกัน
นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ตรงไปตรงมาว่ายีนอะไร สารเคมีตัวไหน หรือความเครียดแบบใดที่เป็นสาเหตุของโรคจิตเภทนี้โดยตรง
การรักษา-การดูแล
1. การรักษาด้วยยา
ยาจะช่วยลดอาการที่ป่วยอยู่และช่วยให้กลับมาทางานได้เกือบเหมือนเดิม แต่ยาก็ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยจิตเภทให้หายขาดได้ หรือรับประกันไม่ได้ว่าอาการของโรคจะกำเริบกลับมาเป็นใหม่อีก ส่วนใหญ่มักจะต้องใช้ยารักษาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้้ำของโรค
ผลข้างเคียงของยาต้านโรคจิต
มีผลข้างเคียงเช่น มีอาการง่วงนอน กระสับกระส่าย ปวดเมื่อย ตัวสั่น ตาพร่ามัว ตัวแข็งเกร็ง กรามแข็ง ลิ้นแข็ง ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยที่ยาแก้ผลข้างเคียงเหล่านี้
2. การรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
3. การฟื้นฟูสภาพจิตใจ ได้แก่ การฝึกการเข้าสังคม การฝึกอาชีพ การให้คาปรึกษา
4. การทำจิตบาบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่เป็นและไม่ใช่ความจริง
5. ครอบครัวบำบัด มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น ช่วยให้ครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเภท และปัญหาเกี่ยวกับโรคนี้ ช่วยให้ครอบครัวเข้าใจวิถีทางที่จะทาให้ผู้ป่วยมีอาการลดน้อยลง
6. กลุ่มบำบัด
การดูแลผู้ป่วย
– ขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีอาการทางจิต ญาติควรเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำ หรือดื้อไม่เชื่อฟัง แต่เป็นอาการป่วยจริงๆ
– ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรเพิ่ม หยุด หรือลดยาเอง
– ช่วยพาผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาให้สม่ำเสมอ ตรงตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ
– ผู้ป่วยที่มีอาการระแวงว่ามีคนจะมาทำร้าย ถ้าญาติพยายามอธิบายว่า “ไม่จริง” จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า “ไม่เข้าใจเขา” จึงควรรับฟังในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดโดยไม่เสริมในอาการหลงผิดของผู้ป่วยและแสดงความเห็นอกเห็นใจในความกลัวของผู้ป่วย ก็จะทำให้ผู้ป่วยสงบลงได้
– ผู้ป่วยที่เฉื่อย ซึมเซา แยกตัว ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้มีกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว แต่จะต้องระวังให้ค่อยเป็นค่อยไปตามความเหมาะสม
– ผู้ป่วยที่หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ญาติควรหลีกเลี่ยงการโต้แย้งกับผู้ป่วย พูดกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล เก็บของใช้ที่แหลมคม และเป็นอันตรายให้มิดชิด
– ถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ดูสับสน วุ่นวาย ดื้อ ไม่ยอมกินยา ไม่ยอมมาพบแพทย์ ญาติควรรีบติดต่อกับแพทย์ผู้รักษา เพื่อเล่าอาการของผู้ป่วยให้แพทย์ทราบ ซึ่งญาติจะได้รับคำแนะนาเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
– หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย ถ้าพบความผิดปกติ ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
– จัดหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำโดยเฉพาะในเวลากลางวัน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยคิดมาก ฟุ้งซ่าน แต่ก็ไม่ต้องถึงกับบังคับมากเกินไป
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
– อาการผิดปกติทางจิตเวช : พญ.นฤมล จินตพัฒนากิจ โรงพยาบาลศรีธัญญา
– wikipedia.org