ความสุข

นิกายเซน
บอกต่อ:

สำหรับตัวฉันมีความสุขในหนทางแห่งชีวิตประจำวัน
ในท่ามกลางเถาวัลย์ เมฆหมอก และถ้ำผา
ณ ที่นี้ในป่าพงรกชัฏ ฉันมีความเป็นอิสระ
ท่องเที่ยวไปโดยมีเมฆขาวเป็นมิตรร่วมทาง
ถนนนั้นมีมากมาย
แต่ไม่มีถนนสายใดที่นำไปสู่ ความหลุดพ้น
แต่สำหรับฉันซึ่งยังโง่เขลาอยู่
จะมีผู้ใดสามารถปลุกเร้าความคิดของฉันได้หรือ?
ยามค่ำคืน ฉันนั่งบนแท่งหินเพียงลำพัง
ในขณะที่ดวงจันทร์
กลมโตโผล่พ้นขุนเขา
ที่เย็นยะเยือก
– หานชาน

As for me, I delight in the everyday Way,
Among mist-wrapped vines and rocky caves.
Here in the wilderness I am completely free,
With my friends, the white clouds, idling forever.
There are roads, but they do not reach the world;
Since I am mindless, who can rouse my thoughts?
On a bed of stone I sit, alone in the night,
While the round moon climbs up Cold Mountain.
– Han Shan

คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต

เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง

ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ

เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน

วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น

ตามคติของนิกายเซน ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釋迦牟尼佛) ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง "จิตสู่จิต" และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้

พระมหากัสสปะ , พระอานนท์ , พระศาณวาสะ , พระอุปคุต , พระธฤตก , พระมิจกะ , พระวสุมิตร , พระพุทธานันทิ , พระพุทธมิตร , พระปารศวะ , พระปุณยยศัส , พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์), พระกปิมละ, พระนาคารชุนะ (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์), พระอารยเทวะ , พระราหุลตะ , พระสังฆนันทิ , พระสังฆยศัส , พระกุมารตะ , พระศยต , พระวสุพันธุ , พระมโนรหิตะ , พระหเกฺลนยศัส , พระสิงหโพธิ , พระวสิอสิต , พระปุณยมิตร , พระปรัชญาตาระ , พระโพธิธรรม
Phong Xodiax (พงษ์ โซดิแอกซ์)Phong Xodiax (พงษ์ โซดิแอกซ์)
Phong Xodiax (พงษ์ โซดิแอกซ์)

สวัสดีทุกท่านครับ เว็บ phongxodiax.com ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ แวะมาหาเราทุกวัน รับรองสิ่งดีๆ เรื่องราวดีๆ เราจะเสิร์ฟให้ถึงมือทุกท่านที่เข้าชมเว็บเราอย่างแน่นอน ของคุณครับ พงษ์ โซดิแอกซ์